ผู้เขียน หัวข้อ: EL34SE Amp > ECF82 Driver  (อ่าน 5721 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ createhouse

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 374
  • ถูกใจกด Like+ 8
EL34SE Amp > ECF82 Driver
« เมื่อ: 21 ตุลาคม  2013, 10:01:57 »
วงจรครับ แต่ภาคหน้าเปลี่ยนจาก Srpp มาเป็น mu follower





ภาคจ่ายไฟที่จะใช้ในครั้งนี้ครับ

  หม้อไฟสำหรับ rectifier ด้วยหลอด Pri : 0-220-230 , sec :300-290-0-290-300/250mA. , 0-5v/4A , 3.15-0-3.15/1.5A , 3.15-0-3.15/2A. *2ขด

 

  ส่วนของงานทำสีหม้อต่างๆ จัดการประกอบหม้อเสร็จพร้อมใช้งานเรียบร้อยแล้ว พรุ่งนี้มืดๆคงเริ่มเจาะแท่นแล้วครับ



เพิ่งได้ฤกษ์เจาะแท่นเอาวันนี้เองครับ  คราวนี้ใช้แผ่นอลูมิเนียมพับกล่อง เดี๋ยวต้องรีบเจาะให้เสร็จเพราะพรุ่งนี้มีงานส่งชุบ อโนไดซ์ จะพ่วงไปซะทีเดียวเลย  



พรุ่งนี้เช้าพ่นสี และ ถ้าเย็นแห้งทันตกดึกคงได้เริ่ม ไวริ่งกันครับ [embarrass-watermelon]







  เริ่มก่อร่างสร้างตัว  สียังไม่สนิทเท่าไหร่ แต่ห้าว เดี๋ยวสีเละจะหัวเราะให้ 

 



ตัวนี้ของผมครับ  โอโม่ ขาวมุก  



 แปลกๆตาไปเหมือนกันไม่คุ้นเลย ปกติแยกหม้อ ใช้โช๊ค 10H ลูกจะสูงเท่ากันหมด แถมไส้หลอดไม่ได้แยกขด กลัวจะไม่เหมือนกับของเพื่อน ไปแอบดูวิธีทำกระจุกๆแถวขาหลอดมาหลายคนแล้ว เดี๋ยวต้องขอเรียนแบบซะหน่อย ไส้หลอดต้องตีเกลียวด้วย เดี่๋ยวฮัม 





 สำหรับผม การเริ่มต้นทำแอมป์สักเครื่อง ผมจะถ่ายทอดความคิดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแท่น หรือ lay out ลงไปบนกระดาษ อย่างแรกเลย ผมจะเขียนทุกอย่าง pin out ของหลอดทุกเบอร์ที่ใช้ลงไป เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปเปิดดูบ่อยๆ แต่พอเขียนบ่อยๆแล้วมันก็จะจำได้เองว่า ขาไหนคืออะไร pin ที่เท่าไหร่ครับ 

 

อย่างที่สองเรื่องการ lay out ผมจะเขียนเหมือนจำลองแท่นมาไว้บนแผ่นกระดาษ ประกอบกับตัววงจร เพื่อที่จะได้รู้ว่าเราจะวางอุปกรณ์ชิ้นไหนอย่างไร และ ควรวางในตำแหน่งไหน หันซ้าย หันขวา จะถูกวางบนแผ่นกระดาษจนเป็นที่เรียบร้อยก่อนแล้วจึงจะเริ่มทำการ ไวริ่งกับของจริงครับ วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้สามารถตรวจเช็ค ตรวจวัดหรือการปรับแก้ไขก็จะทำได้โดยง่าย   ใครที่เคยทำโดยไม่วางแผนก่อนจะรู้ดีว่าเมื่อต้องการแก้ไขนั้นไม่ง่ายเลยอาจจะต้องถอดตัวอื่นๆออกก่อนถึงจะแก้ไขตัวที่ต้องการทำได้  อีกทั้งสกปรกเลอะเทอะและไม่สามารถจัดให้เรียบร้อยได้เหมือนกับครั้งแรกที่ทำ

 

 
  การวางแผนก่อนการทำงานที่ดีจะช่วยให้การทำงานเป็นไปได้โดยง่าย สะดวก  สะอาด และ ปลอดภัย  ความสวยงามเป็นเพียงผลพลอยได้จากการวางแผนที่ดี 

เกือบลืมก่อนไวริ่งก็ต้องทำที่พักสายตามแผนที่วางไว้ สาเหตุที่ต้องทำเองก็เพราะต้องการให้ได้ตำแหน่งที่วางไว้แล้วครับ  

 

 

ฟังปรีเพลินไปหน่อย มาดึกเลยครับ มาเริ่มต้น wiring กันครับ เริ่มจากการจ่ายไฟจากขา L IEC เข้า fuse แล้วไปสวิทช์แล้วจึงมาเข้าหม้อ ส่วน N จ่ายเข้าหม้อเลย  

 

 อย่าลืมที่จะหุ้มท่อหดจุดต่อทั้งหมดด้วยนะครับ เล่นกับไฟให้ใช้ความระมัดระวังอย่างสูงสุดครับ

จากนั้นก็เริ่มจ่ายไฟเข้าหลอด rectifier ทั้งจุดไส้หลอด และ ไฟสูงครับ  



เดินสายจาก sec  opt ไป biding post



วันนี้พอแค่นี้ก่อนครับ พรุ่งนี้มาจ่ายไฟจุดไส้หลอดในภาค drive และ power กันครับ

มาตามสัญญาครับ วันนี้เดินสายไฟชุดจุดไส้หลอดทั้งหมดครับ พร้อมเทสการทำงาน 

 

 วันนี้คงจบเพียงเท่านี้ พรุ่งนี้ค่อยเดินสัญญาณเข้า และ ภาค drive 

 

ค่อยๆเก็บกันวันละนิดครับ เดี๋ยวก็เสร็จแต่ถ้าไม่ทำเลยแล้วมันจะขี้เกียจเก็บวันละ 20 - 30 นาทีช่วยเสริมสร้างสมาธิที่ดีได้นะครับ  

  วันนี้ถ้าไม่มีใครมากวนอีกคงเสร็จตามที่วางไว้




เปลี่ยนภาคจ่ายไฟมาใช้ 5T4 full wave ractifier



ภาคจ่ายไฟ C-L-C-R-C



zoom driver stage mu follower อุปกรณ์ค่อนข้างเยอะเหมือนกันเลยต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบตอนทำพอสมควรเพราะอุปกรณ์ที่ใช้

 

 

เกือบสมบูรณ์เต็มร้อยแล้วครับ เหลือเดินสัญญาณจาก RCA เข้า โวลุ่ม และกราวด์ไส้หลอด ก็ทำการตรวจสอบระบบไฟได้แล้วครับ คงใช้เวลาตรงนี้ประมาณ 1 ชั่วโมงคงได้ฟังเสียงกันในคืนนี้  



งาน wiring เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ



วัดไฟ เป็นไปตามที่ซิมไว้เป๊ะครับ แต่หม้อผมไฟอ่อนไปเล็กน้อยในภาคพาวเวอร์



เบรินท์อินมาชั่วโมงกว่าแล้วครับ

 
 
 และสำหรับเพื่อนที่ทำวงจร mu follower และ srpp อย่าลืมยกไฟไส้หลอดกันนะครับ นึกอะไรออก คิดไม่เป็นก็ สูตรผม 300K/100K bicap ด้วย c 0.22uF-1uF/400V  แบ่งแรงดันจาก plate ไปจิ้มไส้หลอดครับ หลอดจะได้อยู่กับเรานานๆ



   THE END >>>>
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม  2013, 10:06:23 โดย createhouse »